เขตการค้าเสรีอาเซียน
ASEAN Free Trade Area : AFTA
เขตการค้าเสรีอาเซียน ( ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟต้า (AFTA) เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดASEAN Free Trade Area : AFTA
ประวัติความเป็นมา
ในปี พ.ศ. 2535 ในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยผู้นำจาก 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย ได้ตกลงที่จะขายสินค้าระหว่างกันอย่างเสรี (ยกเว้นสินค้าเกษตร) เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ.2546 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป เรียกข้อตกลงทางการค้าของกลุ่มอาเซียนนี้ว่า “เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา”
สาเหตุสำคัญของการก่อตั้งอาฟตา คือ ประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลกต่างค้าขายและขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ทำให้หลายประเทศต่างหวาดหวั่นว่า การลงทุนจากต่างประเทศจะหลั่งไหลไปยังยุโรปตะวันออกและสาธารณรัฐที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต ไม่มาลงทุนในประเทศของตน จะทำให้ประสบกับภาวะฝืดเคืองและเศรษฐกิจถดถอย จึงหาทางที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด กลุ่มแรก คือ ประชาคมยุโรปได้ตกลงที่จะรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวภายใน พ.ศ.2535 และใช้มาตรการทางการค้า เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่ม เช่น การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรใหม่ การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้า การจำกัดโควตาสินค้านำเข้า เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ทำให้กลุ่มอาเซียนเห็นว่าจะเป็นสาเหตุทำให้สินค้าของตนขายได้น้อยลง จึงร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นในรูปที่คล้ายคลึงกัน
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
1. เพื่อให้การขายสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรีมีอัตราภาษีต่ำและปราศจากข้อจำกัดทางการค้า
2. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในอาเซียน
3. เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรอง และเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น หากได้รับความกดดัน หรือถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากประเทศอื่น
หลักการ
1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme)
1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme)
2. กำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%
ผลการปฏิบัติงาน
อาฟตาได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าระหว่างประเทศที่มีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ดังนี้
1. สินค้าลดปกติ กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน เหลือร้อยละ 0.5 ภายใน 10 ปี คือ ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ยกเว้นสมาชิกใหม่ของอาเซียน คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ให้เลื่อนเวลาสิ้นสุดการลดภาษีออกไป
2. สินค้าเร่งลดภาษี ประกอบด้วยสินค้า 15 สาขา ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจากทองแดง กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ปี ภายใน 7 ปี คือสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543
3. สินค้าที่เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่น ได้แก่ สินค้าเกษตรไม่สำเร็จรูป เริ่มลดภาษีภายใน พ.ศ.2544-2546 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและน้ำตาลไม่ต้องลดเหลือร้อยละ 0-5 แต่ให้ลดตามอัตราที่ตกลงกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขตการค้าเสรีอาเซียน
ไทยมีความสัมพันธ์กับอาฟตาโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่งที่มีมูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น พ.ศ.2540 ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนรวม 626,251 ล้านบาท เป็นมูลค่าสินค้าออก 380,790 ล้านบาท มูลค่าสินค้าเข้า 245,425 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 135,365 ล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2541 มีมูลค่าการค้ารวม 510,057 ล้านบาท เป็นสินค้าออก 307,805 ล้านบาท สินค้าเข้า 202,251 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2540 ซึ่งมีมูลค่าการค้า 437,592 ล้านบาทแล้ว มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 72,465 ล้านบาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 16.6 ล้านบาท จึงคาดว่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไทยจะได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นด้วย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนที่สำคัญ 5 อันดับแรก คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
2. ข้าว
3. แผงวงจรไฟฟ้า
4. น้ำตาลทราย
5. น้ำมันสำเร็จรูป
ผลการปฏิบัติงาน
อาฟตาได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าระหว่างประเทศที่มีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ดังนี้
1. สินค้าลดปกติ กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน เหลือร้อยละ 0.5 ภายใน 10 ปี คือ ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ยกเว้นสมาชิกใหม่ของอาเซียน คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ให้เลื่อนเวลาสิ้นสุดการลดภาษีออกไป
2. สินค้าเร่งลดภาษี ประกอบด้วยสินค้า 15 สาขา ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจากทองแดง กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ปี ภายใน 7 ปี คือสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543
3. สินค้าที่เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่น ได้แก่ สินค้าเกษตรไม่สำเร็จรูป เริ่มลดภาษีภายใน พ.ศ.2544-2546 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและน้ำตาลไม่ต้องลดเหลือร้อยละ 0-5 แต่ให้ลดตามอัตราที่ตกลงกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขตการค้าเสรีอาเซียน
ไทยมีความสัมพันธ์กับอาฟตาโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่งที่มีมูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น พ.ศ.2540 ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนรวม 626,251 ล้านบาท เป็นมูลค่าสินค้าออก 380,790 ล้านบาท มูลค่าสินค้าเข้า 245,425 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 135,365 ล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2541 มีมูลค่าการค้ารวม 510,057 ล้านบาท เป็นสินค้าออก 307,805 ล้านบาท สินค้าเข้า 202,251 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2540 ซึ่งมีมูลค่าการค้า 437,592 ล้านบาทแล้ว มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 72,465 ล้านบาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 16.6 ล้านบาท จึงคาดว่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไทยจะได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นด้วย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนที่สำคัญ 5 อันดับแรก คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
2. ข้าว
3. แผงวงจรไฟฟ้า
4. น้ำตาลทราย
5. น้ำมันสำเร็จรูป
ที่มา :
วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Org-Inter/AFTA.htm
วิกิพีเดีย สารนุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Org-Inter/AFTA.htm